สรุปเนื้อเรือง
ตารางเทียบเสียงพยัญชนะ
พยัญชนะไทย | อักษรโรมัน | ตัวอย่าง | |
ตัวต้น | ตัวสะกด | ||
ก | k | k | กา = ka , นก = nok |
ข ฃ ค ฅ ฆ | kh๑ | k | ขอ = kho , สุข = suk , โค = kho , ยุค = yuk , ฆ้อง = khong , เมฆ = mek |
ง | ng | ng | งาม = ngam , สงฆ์ = song |
จ ฉ ช ฌ | ch๒ | t | จีน = chin , อำนาจ = amnat , ฉิ่ง = ching , ชิน = chin , คช = khot , เฌอ = choe |
ซ ทร(เสียง ซ) ศ ษ ส | s | t | ซา = sa , ก๊าซ = kat , ทราย = sai , ศาล = san , ทศ = thot , รักษา = raksa , กฤษณ์ = krit , สี = si , รส = rot |
ญ | y | n | ญาติ = yat , ชาญ = chan |
ฎ ฑ (เสียง ด) ด | d | t | ฎีกา = dika , กฎ = kot , บัณฑิต = bandit , ษัฑ = sat , ด้าย = dai , เป็ด = pet |
ฏ ต | t | t | ปฏิมา = patima , ปรากฏ = prakot , ตา = ta , จิต = chit |
ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ | th๑ | t | ฐาน = than , รัฐ = rat , มณฑล = monthon , เฒ่า = thao , วัฒน์ = wat , ถ่าน = than , นาถ = nat , ทอง = thong , บท = bot , ธง = thong , อาวุธ = awut |
ณ น | n | n | ประณีต = pranit , ปราณ = pran , น้อย = noi , จน = chon |
บ | b | p | ใบ = bai , กาบ = kap |
ป | p | p | ไป = pai , บาป = bap |
ผ พ ภ | ph๑ | p | ผา = pha , พงศ์ = phong , ลัพธ์ = lap , สำเภา = samphao , ลาภ = lap |
ฝ ฟ | f | p | ฝั่ง = fang , ฟ้า = fa , เสิร์ฟ = soep |
ม | m | m | ม้าม = mam |
ย | y | - | ยาย = yai |
ร | r | n | ร้อน = ron , พร = phon |
ล ฬ | l | n | ลาน = lan , ศาล = san , กีฬา = kila , กาฬ = kan |
ว | w | - | วาย = wai |
ห ฮ | h | - | หา = ha , ฮา = ha |
หมายเหตุ :: ๑. ในทางสัทศาสตร์ ใช้ h เป็นตัวสัญลักษณ์เพื่อแสดงลักษณะเสียงธนิต (เสียงที่กลุ่มลมพุ่งตามออกมาในขณะออกเสียง) h ที่ประกอบหลัง k p t จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางสัทศาสตร์ดังนี้ | |
k แทนเสียง ก เพราะเป็นเสียงสิถิล (เสียงที่ไม่มีกลุ่มลมพุ่งออกมาในขณะออกเสียง) kh จึงแทนเสียง ข ฃ ค ฅ ฆ เพราะเป็นเสียงธนิต p แทนเสียง ป ซึ่งเป็นเสียงสิถิล ph จึงแทนเสียง ผ พ ภ เพราะเป็นเสียงธนิต ไม่ใช่แทนเสียง ฟ t แทนเสียง ฏ ต ซึ่งเป็นเสียงสิถิล th จึงแทนเสียง ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ เพราะเป็นเสียงธนิต | |
๒. ตามหลักสัทศาสตร์ ควรใช้ c แทนเสียง จ ซึ่งเป็นเสียงสิถิล และ ch แทนเสียง ฉ ช ฌ ซึ่งเป็นเสียงธนิต ดังที่ใช้กันในภาษาบาลี-สันสกฤต เขมร ฮินดี อินโดนีเซีย และภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษแต่ที่มิได้แก้ไขให้เป็นไปตามหลักสัทศาสตร์ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้ไข้วเขวกับการสะกดและออกเสียงตัว c ในภาษาอังกฤษซึ่งคนไทยมักใช้แทนเสียง ค หรือ ซ ตัวอย่างเช่น จน/จิต หากเขียนตามหลักสัทศาสตร์เป็น con/cit ก็อาจจะออกเสียงตัว c เป็นเสียง ค ในคำว่า con และออกเสียง ช ในคำว่า cit ดังนั้นจึงยังคงใช้ ch แทนเสียง จ ตามที่คุ้นเคย เช่น จุฬา = chula , จิตรา = chittra |
ตารางเทียบเสียงสระ
สระ | อักษรโรมัน | ตัวอย่าง |
อะ , -ั (อะ ลดลรูป) , รร (มีตัวสะกด) , อา | a | ปะ = pa , วัน = wan , สรรพ = sap , มา = ma |
รร (ไม่มีตัวสะกด) | an | สรรหา = sanha , สวรรค์ = sawan |
อำ | am | รำ = ram |
อิ , อี | i | มิ = mi , มีด = mit |
อึ , อื | ue๑ | นึก = nuek , หรือ = rue |
อุ , อู | u | ลุ = lu , หรู = ru |
เอะ , เ-็ (เอะ ลดรูป) , เอ | e | เละ = le , เล็ง = leng , เลน = len |
แอะ , แอ | ae | และ = lae , แสง = saeng |
โอะ , - (โอะ ลดรูป) , โอ , เอาะ , ออ | o | โละ = lo , ลม = lom , โล้ = lo , เลาะ = lo, ลอม = lom |
เออะ , เ- ิ (เออะ ลดรูป) , เออ | oe | เลอะ = loe , เหลิง = loeng , เธอ = thoe |
เอียะ , เอีย | ia | เผียะ = phia , เลียน = lian |
เอือะ , เอือ | uea๒ | - * , เลือก = lueak |
อัวะ , อัว , - ว- (อัว ลดรูป) | ua | ผัวะ = phua , มัว = mua , รวม = ruam |
ใอ , ไอ , อัย , ไอย , อาย | ai | ใย = yai , ไล่ = lai , วัย = wai , ไทย = thai , สาย = sai |
เอา , อาว | ao | เมา = mao , น้าว = nao |
อุย | ui | ลุย = lui |
โอย , ออย | oi | โรย = roi , ลอย = loi |
เอย | oei | เลย = loei |
เอือย | ueai | เลื้อย = lueai |
อวย | uai | มวย = muai |
อิว | io๓ | ลิ่ว = lio |
เอ็ว , เอว | eo | เร็ว = reo , เลว = leo |
แอ็ว , แอว | aeo | แผล็ว = phlaeo , แมว = maeo |
เอียว | iao | เลี้ยว = liao |
ฤ (เสียง รึ) , ฤา | rue | ฤษี , ฤาษี = ruesi |
ฤ (เสียง ริ) | ri | ฤทธิ์ = rit |
ฤ (เสียง เรอ) | roe | ฤกษ์ = roek |
ฦ , ฦา | lue | - * , ฦาสาย = luesai |
หมายเหตุ :: ๑. ตามหลักเดิม อึ อื อุ อู ใช้ u แทนทั้ง ๔ เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง อึ อื กับ อุ อู จึงใช้ u แทน อุ อู และใช้ ue แทน อึ อื |
๒. ตามหลักเดิม เอือะ เอือ อัวะ อัว ใช้ ua แทนทั้ง ๔ เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง เอือะ เอือ กับ อัวะ อัว จึงใช้ ua แทน อัวะ อัว และ uea แทน เอือะ เอือ เพราะ เอือะ เอือ เป็นสระประสมซึ่งประกอบด้วยเสียง อึ หรือ อื (ue) กับเสียง อะ หรือ อา (a) |
๓. ตามหลักเดิม อิว ใช้ iu และเอียว ใช้ ieu แต่เนื่องจากหลักเกณฑ์นี้เสียงที่มี ว ลงท้ายและแทนเสียงด้วย o ซึ่งได้แก่ เอา อาว (ao) , เอ็ว เอว (eo) , แอ็ว แอว (aeo) ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน อิว ซึ่งเป็นเสียง อิ กับ ว จึงแทนด้วย i + o คือ io ส่วนเสียง เอียว ซึ่งมาจากเสียง เอีย กับ ว จึงแทนด้วย ia + o เป็น iao |
* ไม่มีคำประสมด้วยสระเสียงนี้ในภาษาไทย |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น